0(0)

รายวิชา พว31001 วิทยาศาสตร์

หลักสูตรรายวิชา

โครงสร้างรายวิชา พว31001 วิทยาศาสตร์

สาระสำคัญ

  1.  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาสาสตร์ เทคโนโลยี และโครงงานวิทยาศาสตร์
  2.  สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เรื่อง เซลล์ พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  3.  สารเพื่อชีวิต เรื่อง ธาตุและสมบัติของธาตุ กัมมันตภาพรังสี สมการเคมีและปฏิกิริยาเคมี โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน ปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ สารเคมีกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
  4.  แรงและพลังงานเพื่อชีวิต เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พลังงานเสียง
  5.  ดาราศาสตร์เพื่อชีวิต เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1.  ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์และนำผลไปใช้ได้
  1.  อธิบายเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ พันธุกรรมและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การผ่าเหล่า ความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ การใช้ประโยชน์ และผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี ชีวภาพต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมได้
  2.  อธิบายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ประเทศและโลกปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่มีผลกระทบต่อชีวิต และสิ่งแวดล้อม วางแผนและปฏิบัติร่วมกับชุมชนเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้
  1. อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมตารางธาตุ สมการและปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจาวัน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ พอลิเมอร์ สารเคมีกับชีวิต การนาไปใช้และผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้
  2. อธิบายเกี่ยวกับแรงและความสัมพันธ์ของแรงกับการเคลื่อนที่ในสนามโน้มถ่วง สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า การเคลื่อนที่แบบต่างๆ และการนาไปใช้ประโยชน์ได้
  1. อธิบายเกี่ยวกับ สมบัติ ประโยชน์และมลภาวะจากเสียง ประโยชน์และโทษของธาตุกัมมันตรังสีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้
  2.  ศึกษา ค้นคว้าและอธิบายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอวกาศในการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลกและในอวกาศ
  3.  อธิบาย ออกแบบ วางแผน ทดลอง ทดสอบ ปฏิบัติการเรื่องไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม แบบขนาน แบบผสม ประยุกต์และเลือกใช้ความรู้ และทักษะอาชีพช่างไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับด้านบริหารจัดการและการบริการ เพื่อนาไปสู่การจัดทาโครงงานวิทยาศาสตร์

ขอบข่ายเนื้อหา

บทที่ 1 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

บทที่ 2 โครงงานวิทยาศาสตร์

บทที่ 3 เซลล์

บทที่ 4 พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ

บทที่ 5 เทคโนโลยีชีวภาพ

บทที่ 6 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บทที่ 7 ธาตุ สมบัติของธาตุและธาตุกัมมันตรังสี

บทที่ 8 สมการเคมี และปฏิกิริยาเคมี

บทที่ 9 โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน

บทที่ 10 ปิโตรเลียมและพอลิเมอร์

บทที่ 11 สารเคมีกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม

บทที่ 12 แรงและการเคลื่อนที่

บทที่ 13 เทคโนโลยีอวกาศ

บทที่ 14 อาชีพช่างไฟฟ้า

สารบัญรายวิชา

44 วิดีโอ

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 1 ทักษะทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์?

บทที่ 1 ทักษะทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาระสําคัญ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมนุษย์ใช้ทักษะต่าง ๆ สํารวจและตรวจสอบ ทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และนําผลที่ได้มาจัดให้เป็น ระบบ และตั้งขึ้นเป็นทฤษฎี ซึ่งทักษะทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยกัน 13 ทักษะในการ ดําเนินการหาคําตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งนอกจากจะต้องใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์แล้ว ในการหา คําตอบจะต้องมีการกําหนดลําดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นจนจบเรียกลําดับขั้น ในการหาคําตอบเหล่านี้ว่า กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เรื่องที่ 1 อธิบายธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องที่ 2 อธิบายขั้นตอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องที่ 3 อธิบายและบอกวิธีการใช้วัสดุและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องที่ 2 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องที่ 3 วัสดุ และ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์

บทที่ 2 โครงงานวิทยาศาสตร์?

บทที่ 2 โครงงานวิทยาศาสตร์ สาระสําคัญ โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาค้นคว้า โดยที่ผู้เรียนจะเป็นผู้ดําเนินการ ด้วยตนเองทั้งหมด องทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มวางแผน ในการศึกษาค้นคว้า การเก็บรวบรวมข้อมูลจนถึงการ แปลผล สรุปผล และการเสนอผลการศึกษา โดยมีผู้ชํานาญการเป็นผู้ให้คําปรึกษา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายประเภท เลือกหัวข้อ วางแผน วิธีนําเสนอและประโยชน์ของโครงงานได้ 2. วางแผนและทําโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ 3. อธิบายและบอกแนวทางในการนําผลจากโครงงานไปใช้ได้ ขอบข่ายเนื้อ เรื่องที่ 1 ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องที่ 2 ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องที่ 3 การนําเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์

บทที่ 3 เซลล์?

บทที่ 3 เซลล์ สาระสําคัญ ร่างกายมนุษย์ พืชและสัตว์ ต่างประกอบด้วยเซลล์ จึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเซลล์พืชและ เซลล์สัตว์ กลไกและการรักษาดุลยภาพของพืช สัตว์และมนุษย์ ป้องกันดูแลรักษา ภูมิคุ้มกัน ร่างกาย กระบวนการแบ่งเซลล์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายรูปร่าง ส่วนประกอบ ความแตกต่าง ระบบการทํางาน การรักษาดุลยภาพ ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ 2. อธิบายการรักษาดุลยภาพของพืชและสัตว์ และมนุษย์และการนําความรู้ไปใช้ได้ 3. ศึกษา สืบค้นข้อมูลและอธิบายกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส และโมโอซิสได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 เซลล์ เรื่องที่ 2 กระบวนการแบ่งเซลล์ แบบไมโทซีส และไมโอซิส

บทที่ 4 พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ?

บทที่ 4 พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ สาระสําคัญ สิ่งมีชีวิตย่อมมีลักษณะเฉพาะของแต่ละสปีชีส์ สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันย่อมมีความ แตกต่างกันน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ ความแตกต่างเหล่านี้เป็นผลจากพันธุกรรมที่ต่างกัน สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ ก่อให้เกิดความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิต หรือความหลากหลายทางชีวภาพ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การแปรผันทางพันธุกรรม การผ่าเหล่า และการ เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ 2. อธิบายลักษณะทางพันธุกรรมได้ 3. อธิบายความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เรื่องที่ 2 ความหลากหลายทางชีวภาพ

บทที่ 5 เทคโนโลยีชีวภาพ?

บทที่ 5 เทคโนโลยีชีวภาพ สาระสําคัญ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นเทคโนโลยีที่นําเอาความรู้ทางชีววิทยามาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจําวันแก่มนุษย์ตั้งแต่อดีต เช่น การผลิตขนมปัง น้ําส้มสายชู น้ําปลา ซีอิ้ว และ โยเกิร์ต เป็นต้น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพทั้งสิ้น รวมถึงการผลิต ยาปฏิชีวนะ ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ชนิดต่าง ๆ ในปัจจุบัน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ และประโยชน์ได้ 2. อธิบายผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ 3. อธิบายบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ความหมายและความสําคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ เรื่องที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อเทคโนโลยีชีวภาพ เรื่องที่ 3 เทคโนโลยีชีวภาพในชีวิตประจําวัน เรื่องที่ 4 ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เรื่องที่ 5 ประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพ

บทที่ 6 ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม?

สาระการเรียนรู้ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตเราอย่างมากมาย ฉะนั้น เราจําเป็นต้องศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในทุกระดับและแนวทางในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตได้ 2. อธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลกได้ 3. อธิบายสาเหตุของปัญหา วางแผน และลงมือปฏิบัติได้ 4. อธิบายการป้องกัน แก้ไข เฝ้าระวัง อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ 5. อธิบายปรากฏการณ์ของธรณีวิทยาที่มีผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม 6. อธิบาย ปรากฏการณ์ สภาวะโลกร้อน สาเหตุและผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิต เรื่องที่ 2 ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) เรื่องที่ 3 ผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ แนวทางป้องกันแก้ไข เรื่องที่ 4 การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องที่ 5 ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา เรื่องที่ 6 ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนและผลกระทบจากต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

บทที่ 7 ธาตุ สมบัติของธาตุและธาตุกัมมันตภาพรังสี?

บทที่ 7 ธาตุ สมบัติของธาตุและธาตุกัมมันตภาพรังสี สาระสําคัญ ทฤษฎี โครงสร้าง และการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม สมบัติของธาตุตามตารางธาตุ สมบัติธาตุกัมมันตภาพรังสีและกัมมันตภาพรังสี ประโยชน์และ ประโยชน์ของตารางธาตุ ผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ สมการและปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจําวัน ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 โครงสร้างและการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม เรื่องที่ 2 ธาตุและตารางธาตุ เรื่องที่ 3 ธาตุกัมมันตภาพรังสี

บทที่ 8 สมการเคมีและปฏิกิริยาเคมี?

บทที่ 8 สมการเคมีและปฏิกิริยาเคมี สาระสําคัญ การเกิดสมการเคมีและปฏิกิริยาเคมี ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาเคมี ตลอดจนผลที่เกิดจาก ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งแวดล้อม ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายการเกิดสมการเคมีและปฏิกิริยาเคมีและดุลสมการเคมีได้ 2. อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาเคมีได้ 3. อธิบายผลที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 สมการเคมี เรื่องที่ 2 หลักการเขียนสมการเคมี เรื่องที่ 3 ปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจําวัน

บทที่ 9 โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน?

บทที่ 9 โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน สาระสําคัญ สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย ธาตุและสารประกอบ ธาตุเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต โดยพบว่าธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตในปริมาณมาก คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจนซึ่งรวมตัวกันเป็นสารประกอบจํานวนมากในเซลล์ สารในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มี ธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เรียกว่า สารอินทรีย์ (Organic substance) ส่วนสารประกอบในเซลล์ที่ไม่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เรียกว่า สารอนินทรีย์ (Inorganic substance) สารอินทรีย์ (Organic substance) ที่พบในธรรมชาติทั้งหลายมีแหล่งกําเนิดจาก สิ่งมีชีวิตแทบทั้งสิ้น โมเลกุลของสารอินทรีย์เหล่านี้มีต่างๆกัน ตั้งแต่ขนาดเล็กโครงสร้างแบบ ง่ายๆ จนถึงขนาดใหญ่มีโครงสาร้างเป็นสายยาวๆ หรือขดตัวเป็นรูปร่างต่างๆ โมเลกุลของ สารอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิตที่จัดเป็นสารชีวโมเลกุล (Biological molecule) และมี ความสําคัญในกระบวนการทุกชนิดในสิ่งมีชีวิต ได้แก่ โปรตีน (Protein) คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) และไขมัน(Lipid) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายสมบัติ ชนิด ประเภทการเกิด และประโยชน์ของโปรตีนได้ 2. อธิบายสมบัติ ชนิด ประเภทการเกิด และประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรตได้ 3. อธิบายสมบัติ ชนิด ประเภทการเกิด และประโยชน์ของไขมันได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 โปรตีน เรื่องที่ 2 คาร์โบไฮเดรต เรื่องที่ 3 ไขมัน

บทที่ 10 ปิโตรเลียมและพอลิเมอร์?

บทที่ 10 ปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ สาระสําคัญ การเกิดปิโตรเลียม แหล่งปิโตรเลียม การกลั่นปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ประโยชน์ และผลจากการใช้ปิโตรเลียม การเกิด และสมบัติของพอลิเมอร์ พอลิเมอร์ในชีวิตประจําวัน การเกิด และผลกระทบจากการใช้พลาสติก ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ เส้นใย ธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายหลักการกลั่นปิโตรเลียมโดยวิธีการกลั่นแบบลําดับส่วน ผลิตภัณฑ์และ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลกระทบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 2. อธิบาย ความหมาย ประเภท ชนิดการเกิดและสมบัติของพอลิเมอร์ พอลิเมอร์ ในชีวิตประจําวัน ผลกระทบจากการใช้พลาสติก ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ เส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ปิโตรเลียม เรื่องที 2 พอลิเมอร์

บทที่ 11 สารเคมีกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม?

บทที่ 11 สารเคมีกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม สาระสําคัญ ชีวิตประจําวันของมนุษย์ที่จะดํารงชีวิตให้มีความสุขนั้น ร่างกายต้องสมบูรณ์แข็งแรง สิ่งที่จะมาบั่นทอนความสุขของมนุษย์ คือสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกายจึงจําเป็นต้องรู้ถึงการใช้ สารเคมี ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายความสําคัญและความจําเป็นที่ต้องใช้สารเคมีได้ 2. อธิบายวิธีการใช้สารเคมีบางชนิดได้ถูกต้อง 3. อธิบายผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมีได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ความสําคัญของสารกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม เรื่องที่ 2 ความจําเป็นที่ต้องใช้สารเคมี เรื่องที่ 3 การใช้สารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย เรื่องที่ 4 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี

บทที่ 12 แรงและการเคลื่อนที่?

บทที่ 12 แรงและการเคลื่อนที่ สาระสําคัญ แรงและการกระทําต่อวัตถุ ความหมายของแรง การเคลื่อนที่ของวัตถุ ความเร่ง ความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการเคลื่อนที่ของอนุภาคในสนามโน้มถ่วง สนามแม่เหล็ก และ ประโยชน์ของสนามแม่เหล็ก ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเคลื่อนที่ในสนามโน้มถ่วง สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ และการนําไปใช้ประโยชน์ได้ 2. อธิบายเกี่ยวกับสมบัติ ประโยชน์ และมลภาวะจากเสียง ประโยชน์และโทษของ ธาตุกัมมันตรังสีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ ขอบข่ายเนื้อหา 1. แรงและการเคลื่อนที่ เรื่องที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการเคลื่อนที่ในสนามโน้มถ่วงสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า เรื่องที่ 2 แรงและความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่ของอนุภาค เรื่องที่ 3 การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ 2. พลังงานเสียง เรื่องที่ 1 การเกิดเสียง เรื่องที่ 2 สมบัติของเสียง เรื่องที่ 3 ประโยชน์ของพลังงานเสียง เรื่องที่ 4 อันตรายจากเสียง

บทที่ 13 เทคโนโลยีอากาศ?

บทที่ 13 เทคโนโลยีอากาศ สาระสําคัญ ห้วงอวกาศเป็นสิ่งที่ไกลเกินตัว แต่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของมวลมนุษย์ จึงจําเป็นต้องศึกษา ห้วงอวกาศโดยนําเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. บอกความหมาย ความสําคัญ และความเป็นมาของเทคโนโลยีอวกาศได้ 2. อธิบายและระบุประเภทของเทคโนโลยีอวกาศได้ 3. อธิบายการนําเทคโนโลยีอวกาศไปใช้ประโยชน์ได้ 4. บอกโครงการสํารวจอวกาศที่สําคัญในปัจจุบันได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ความหมาย ความสําคัญ และความเป็นมาของเทคโนโลยีอวกาศ เรื่องที่ 2 ประเภทของเทคโนโลยีอวกาศ เรื่องที่ 3 ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีอวกาศ เรื่องที่ 4 โครงการสํารวจอวกาศที่สําคัญในปัจจุบัน

บทที่ 14 อาชีพช่างไฟฟ้า?

บทที่ 14 อาชีพช่างไฟฟ้า ประเภทของไฟฟ้า มีอะไรบ้าง ประเภทของไฟฟ้า มี 2 แบบ ดังนี้ 1. ไฟฟ้าสถิต ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของวัตถุ 2 ชนิด มาถูกัน เช่น แท่งอําพันกับผ้าขนสัตว์ 2. ไฟฟ้ากระแส เกิดจากอิเล็กตรอนจากแหล่งกําเนิดไหลผ่านตัวนําไปยังที่ต้องการใช้ ไฟฟ้า มี 2 แบบ ดังนี้ 1. ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) มีทิศทางการไหล และขนาดคงที่ เช่น แบตเตอรี่ 2. ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current : AC) มีทิศทางการไหลของ กระแสสลับไปสลับมา และขนาดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ใช้ภายในบ้าน เช่น โทรทัศน์ คลิปที่ 1 ไฟฟ้าสถิต วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายการเกิดไฟฟ้าสถิตได้อย่างถูกต้อง https://www.youtube.com/watch?v=9gaLIvW1F3I คลิปที่ 2 ไฟฟ้ากระแส วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายการเกิดไฟฟ้ากระแสได้อย่างถูกต้อง https://www.youtube.com/watch?v=xiA54SwtrOY วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือช่างไฟฟ้า มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือช่างไฟฟ้า มีดังนี้ 1. ไขควง มี 2 แบบ คือ ไขควงปากแบน และไขควงแบบฟิลลิป หรือปากสี่แฉก 2. มีด ใช้ในการปอกสาย ตัด ฉนวนสายไฟฟ้า 3. คีม ใช้ในการบีบ ตัด ม้วนสายไฟฟ้า มีหลายแบบ คือ คีมตัด(ปากนกแก้ว) คีมปากจิ้งจก คีมปากแบน คีมปากกลม และคีมปอกสายไฟฟ้า

แบบทดสอบหลังเรียน

เกี่ยวกับผู้สอน

ครู กศน.ตำบลธานี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสุโขทัย ที่อยู่ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 จบ ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยครูพิบูลสงครามพิษณุโลก
4.83 (6 การให้คะแนน)

17 รายวิชา

183 ผู้เรียน

เรียน
thThai