0(0)

กศน.ตำบลเมืองเก่า วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา (พค11001)

หลักสูตรรายวิชา

สาระสําคัญ
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจํานวนและตัวเลข เศษส่วน ทศนิยมและร้อยละ การวัด
เรขาคณิต สถิติ และความน่าจะเป็นไปได้เบื้องต้น
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. ระบุหรือยกตัวอย่างเกี่ยวกับจํานวนและตัวเลข เศษส่วน ทศนิยมและร้อยละ การวัด
เรขาคณิต สถิติ และความน่าจะเป็นไปได้เบื้องต้นได้
๒. สามารถคิดคํานวณและแก่โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจํานวนนับเศษส่วน ทศนิยม ร้อยละ
การวัด เรขาคณิตได้
ขอบข่ายเนื้อหา
บทที่ 1 จํานวนและการดําเนินการ
บทที่2 เศษส่วน
บทที่3 ทศนิยม
บทที่ 4 ร้อยละ
บทที่ 5 การวัด
บทที่6 เรขาคณิต
บทที่ 7 สถิติ
บทที่ 8 ความน่าจะเป็นเบื้องต้น

สารบัญรายวิชา

7 วิดีโอ

วิชาคณิตศาสตร์

แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 1 จํานวนและการดําเนินการ?

สาระสําคัญ 1. การอ่านและเขียนตัวเลขแทนจํานวน การประมาณค่า และการบวก ลบ คูณ หารการดําเนินการ เกี่ยวกับจํานวน การนํามาใช้ในชีวิตประจําวัน และการบูรณาการกับศาสตร์อื่นได้ 2. สมบัติของจํานวนนับ และศูนย์ สมบัติการสลับที่ของการบวกและการคูณ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ การบวก การคูณ สมบัติการบวกด้วยศูนย์ สมบัติการคูณด้วยหนึ่ง และสมบัติแยกตัวประกอบ สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการคิดคํานวณได้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เมื่อศึกษาบทที่ 1 แล้วผู้เรียนสามารถ 1. อ่านและเขียนตัวเลขแทนจํานวนได้ 2. บอกค่าประจําหลักและค่าของตัวเลขได้ 3. เขียนจํานวนในรูปการกระจายได้ 4. เปรียบเทียบจํานวนนับได้ 5. ประมาณค่าเป็นจํานวนเต็มได้ 6. นําความรู้และสมบัติ เกี่ยวกับจํานวนนับ และศูนย์ ไปใช้ได้ 7. บวก ลบ คูณ และหาร จํานวนนับได้ 8. หาตัวประกอบของจํานวนนับได้ 9. บอกจํานวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะได้ 10. แยกตัวประกอบของจํานวนนับได้ 11. หา ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของจํานวนนับที่กําหนดให้ได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่1 การอ่านและเขียนตัวเลขแทนจํานวน เรื่องที่ 2 ค่าประจําหลักและค่าของตัวเลข เรื่องที่ 3 การเขียนจํานวนในรูปการกระจาย เรื่องที่ 4 การเรียงลําดับจํานวน เรื่องที่ 5 การประมาณค่า เรื่องที่ 6 สมบัติของจํานวนนับและศูนย์ และการนําไปใช้ในการแก้ปัญหา เรื่องที่ 7 การบวก ลบ คูณ และหาร จํานวนนับและการแก้ปัญหา เรื่องที่ 8 ตัวประกอบของจํานวนนับและการหาตัวประกอบ เรื่องที่ 9 จํานวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ เรื่องที่ 10 การแยกตัวประกอบ เรื่องที่11 ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

บทที่ 2 เศษส่วน?

สาระสําคัญ การอ่านและเขียนเศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วน การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน และ การแก้โจทย์ปัญหาตามสถานการณ์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. บอกความหมาย ลักษณะและอ่านเศษส่วนได้ 2. เขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปเศษส่วนอย่างต่ำ จํานวนคละและเศษส่วนเกินได้ 3. เปรียบเทียบและเรียงลําดับเศษส่วนได้ 4. บวก ลบ เศษส่วนและนําความรู้เกี่ยวกับเศษส่วนไปใช้แก้โจทย์ปัญหาได้ 5. คูณเศษส่วนและนําความรู้เกี่ยวกับการคูณเศษส่วนไปใช้แก้โจทย์ปัญหาได้ 6. หารเศษส่วนและนําความรู้เกี่ยวกับการหารเศษส่วนไปใช้แก้โจทย์ปัญหาได้ 7. บวก ลบ คูณ หารเศษส่วนและนําความรู้ไปใช้แก้โจทย์ปัญหาได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ความหมาย ลักษณะของเศษส่วนและการอ่านเศษส่วน เรื่องที่ 2 เขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปเศษส่วนอย่างต่ำ จํานวนคละและเศษเกิน เรื่องที่ 3 การเปรียบเทียบเศษส่วน เรื่องที่ 4 การบวก ลบ เศษส่วนและโจทย์ปัญหา เรื่องที่ 5 การคูณเศษส่วนและโจทย์ปัญหา เรื่องที่ 6 การหารเศษส่วนและโจทย์ปัญหา เรื่องที่ 7 การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนระคนและโจทย์ปัญหา

บทที่ 3 ทศนิยม?

สาระสําคัญ การอ่านและเขียนทศนิยม การเขียนในรูปกระจาย การเปรียบเทียบทศนิยม การเรียงลําดับ การประมาณค่า ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมกับเศษส่วน การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม และการแก้ โจทย์ปัญหาตามสถานการณ์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. บอกความหมายเขียนและอ่านทศนิยมได้ 2. บอกค่าประจําหลักและค่าของตัวเลขในแต่ละหลักของทศนิยมได้ 3. เขียนทศนิยมในรูปการกระจายได้ 4. เปรียบเทียบและเรียงลําดับทศนิยมได้ 5. แปลงทศนิยมให้อยู่ในรูปเศษส่วน และแปลงเศษส่วนจํานวนนับให้อยู่ในรูปทศนิยมได้ 6. ประมาณค่าทศนิยมหนึ่งตําแหน่ง สองตําแหน่งและสามตําแหน่งได้ 7. บวก ลบ ทศนิยม และนําความรู้ไปใช้แก้โจทย์ปัญหาได้ 8. คูณ หาร ทศนิยมและนําความรู้ไปใช้แก้โจทย์ปัญหาได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ความหมาย ของทศนิยม การอ่าน และการเขียนทศนิยม เรื่องที่ 2 ค่าประจําหลักและค่าของตัวเลขในแต่ละหลักของทศนิยม เรื่องที่ 3 การเขียนทศนิยมในรูปการกระจาย เรื่องที่ 4 การเปรียบเทียบและเรียงลําดับทศนิยม เรื่องที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน เรื่องที่ 6 การประมาณค่าใกล้เคียงทศนิยม เรื่องที่ 7 การบวก ลบ ทศนิยม และ โจทย์ปัญหา เรื่องที่ 8 การคูณ หาร ทศนิยมและโจทย์ปัญหา

บทที่ 4 ร้อยละ?

สาระสําคัญ ความหมายของร้อยละ และการใช้สัญลักษณ์เปอร์เซ็นต์ (%) ความสัมพันธ์ระหว่าง เศษส่วน ทศนิยม และร้อยละ โจทย์ปัญหา การคูณ หาร (บัญญัติไตรยางศ์) และการประยุกต์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. เขียนเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 ให้อยู่ในรูปร้อยละและใช้สัญลักษณ์เปอร์เซ็นต์ (%) ได้ 2. หาค่าเศษส่วน และเขียนร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้ 3. แก้โจทย์ปัญหาการคูณ การหาร (บัญญัติไตรยางศ์) ของจํานวนนับ และ นําไปประยุกต์ใช้ได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ความหมายของร้อยละ เรื่องที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่าง เศษส่วน และร้อยละ เรื่องที่ 3 โจทย์ปัญหาการคูณ การหาร (บัญญัติไตรยางศ์) และการประยุกต์

บทที่ 5 การวัด?

สาระสําคัญ 1. การวัดความยาว พื้นที่ ปริมาตร ความจุ น้ําหนักอุณหภูมิ ต้องใช้ความละเอียดในการวัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการวัด การเลือกใช้เครื่องมือวัดและหน่วยการวัดที่มีความเหมาะสม 2. การเขียน และการอ่านเข็มทิศ แผนที่ แผนผัง ตลอดจนการใช้มาตราส่วนที่เหมาะสม จะทําให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน เที่ยงตรง อ่านแล้วเข้าใจตรงกัน 3. นาฬิกาเป็นเครื่องมือบอกเวลามีหน่วยเป็นชั่วโมง นาที วินาที การเขียนเวลาใช้จุด ทศนิยม ส่วนจุดของเวลาคิดจาก 60 นาที 4. เงินเป็นสื่อกลางในการซื้อขายและแลกเปลี่ยน ในประเทศไทยมีหน่วยเป็นบาทและ สตางค์ เวลาเขียนใช้จุดคั่นระหว่างบาทกับสตางค์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. วัดความยาว ความสูงและระยะทาง โดยใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานได้ 2. เลือกเครื่องวัดและหน่วยวัดความยาว ความสูง และระยะทางที่เป็นมาตรฐานใหม่ เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัดได้ 3. เปลี่ยนหน่วยวัดความยาวความสูง หรือระยะทางจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยย่อยและ จากหน่วยหน่วยย่อยเป็นหน่วยใหญ่ 4. หาความยาว ความสูง หรือ ระยะทางจริงจากรูปที่ย่อส่วนเมื่อกําหนดมาตราส่วนให้ได้ 5. แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว ความสูง และระยะทางได้ 6. เลือกหน่วยการชั่ง การตวง ที่เป็นมาตรฐานให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะชั่งและตวงได้ 7. เปลี่ยนหน่วยการชั่ง การตวงได้ 8. หาพื้นที่และความยาวรอบรูปของรูปเรขาคณิตได้ 9. แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตได้ 10. หาปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและแก้ปัญหาได้ 11. บอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยของปริมาตร หรือหน่วยของความจุได้ 12. บอกชื่อและทิศทางของทิศทั้งแปดได้ 13. อ่าน เขียนแผนผังแสดงตําแหน่งของสิ่งต่าง ๆ และแผนผังแสดงการเดินทางโดย ใช้มาตราส่วนได้ 14. เขียนและอ่านจํานวนเงินโดยใช้จุดทศนิยมกําหนดหน่วยจํานวนเต็มและเศษของหน่วยได้ 15. เปรียบเทียบจํานวนเงินและแลกเงินได้ 16. แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเงินได้ 17. อ่านและเขียนบันทึกรายรับ รายจ่ายได้ 18. การวัดอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์ และองศาเซลเซียสได้ 19. เปลี่ยนหน่วยการวัดอุณหภูมิได้ 20. บอก เขียนอ่านเวลาจากหน้าปัดนาฬิกาได้โดยใช้จุดทศนิยมกําหนดหน่วยชั่วโมง และนาทีได้ 21. อ่านบันทึกเวลา และบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆโดยระบุเวลาได้ 22. เปลี่ยนหน่วยเวลาจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยย่อยและจากหน่วยย่อยเป็นหน่วยใหญ่ได้ 23. แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาได้ 24. คาดคะเนเกี่ยวกับความยาวพื้นที่ ปริมาตร ความจุ น้ำหนักและเวลาได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 การวัดความยาวและระยะทาง เรื่องที่ 2 การชั่งและการตวง เรื่องที่ 3 การหาพื้นที่ เรื่องที่ 4 การหาปริมาตร เรื่องที่ 5 ทิศทางของแผนผัง เรื่องที่ 6 เงิน เรื่องที่ 7 อุณหภูมิ เรื่องที่ 8 เวลา เรื่องที่ 9 การคาดคะเน

บทที่ 6 เรขาคณิต?

สาระสําคัญ 1. รูปที่มีเส้นขอบ ซึ่งลากจากจุดเริ่มต้นแล้วไม่วกกลับมาพบที่จุดเริ่มต้นเรียกว่า รูปเปิด และถ้าลากจากจุดเริ่มต้น แล้ววกกลับมาพบที่จุดเริ่มต้นเรียกว่า รูปปิด 2. รูปสามเหลี่ยม เป็นรูปปิดที่มีสามด้าน สามมุม แต่ละมุมเรียกว่า มุมภายในของรูป สามเหลี่ยม 3. รูปสี่เหลี่ยม เป็นรูปปิดที่มีสี่ด้าน สี่มุม แต่ละมุมเรียกว่า มุมภายในของรูปสี่เหลี่ยม 4. รูปบนระนาบที่มีจุดทุก ๆ จุดห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน เรียกว่า รูปวงกลม ขอบของรูป เรียกว่า เส้นรอบรูปวงกลมหรือเส้นรอบวง จุดคงที่ เรียกว่า จุดศูนย์กลาง ระยะทางจาก จุดศูนย์กลางไปยังเส้นรอบวง เรียกว่า รัศมี ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. จําแนกชนิดของรูปเรขาคณิตหนึ่งมิติ สองมิติและสามมิติได้ 2. เข้าใจลักษณะของลูกบาศก์และนําไปใช้ได้ 3. เขียนรูปเรขาคณิตหนึ่งมิติ สองมิติและประดิษฐ์รูปเรขาคณิตสามมิติได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 รูปเรขาคณิตหนึ่งมิติ เรื่องที่ 2 รูปเรขาคณิตสองมิติ เรื่องที่ 3 รูปเรขาคณิตสามมิติ เรื่องที่ 4 บาศก์ เรื่องที่ 5 การสร้างรูปเรขาคณิต เรื่องที่ 6 การประดิษฐ์รูปเรขาคณิตสามมิติ

บทที่ 7 และ 8 สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น?

สาระสําคัญ 1. ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่ใช้เป็นหลักในการคํานวณเปรียบเทียบ หรือคาดคะเน 2. การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ ทดลอง หรือรวบรวมจากทะเบียน 3. การนําเสนอข้อมูลอาจใช้ตาราง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิรูปวงกลม และกราฟเส้น 4. ข้อมูลของสิ่งเดียวกันและมีลักษณะเหมือนกันตั้งแต่สองชุดขึ้นไป อาจแสดงการเปรียบเทียบโดย ใช้แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ 5. กราฟเส้นเป็นวิธีการนําเสนอข้อมูล โดยใช้จุดและส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมต่อจุดซึ่งจุดแต่ละ จุดจะบอกจํานวนหรือปริมาณของข้อมูลแต่ละรายการนิยมใช้กราฟเส้นกับข้อมูลที่แสดงการ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามลําดับก่อนหลังของเวลา 6. การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล อาจแสดงโดยใช้กราฟเส้น 7. แผนภูมิรูปวงกลม เป็นการนําเสนอข้อมูลโดยใช้พื้นที่ภายในรูปวงกลมแทนจํานวนหรือปริมาณ ของข้อมูลแต่ละรายการ 8. ความน่าจะเป็น หมายถึง โอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นั้นอาจจะเกิดขึ้น อย่างแน่นอน อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ หรือไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. เมื่อกําหนดประเด็นต่าง ๆ ให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ 2. เมื่อกําหนดแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบให้ สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ได้ 3. เมื่อกําหนดข้อมูลให้ สามารถเขียนแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบได้ 4. เมื่อกําหนดกราฟเส้นให้ สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ได้ 5. เมื่อกําหนดข้อมูลให้ สามารถเขียนกราฟเส้นได้ 6. เมื่อกําหนดแผนภูมิวงกลมให้ สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ได้ 7. เมื่อกําหนดสถานการณ์ให้ สามารถอภิปรายเหตุการณ์เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับคําที่มี ความหมายเช่นเดียวกับคําว่า “แน่นอน” อาจจะใช้หรื่อไม่ใช่” “เป็นไปไม่ได้” และใช่คํา เหล่านี้ได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 สถิติเบื้องต้น เรื่องที่ 2 ความน่าจะเป็นเบื้องต้น

เกี่ยวกับผู้สอน

ครูผู้ช่วย กศน.อำเภอเมืองสุโขทัย
4.00 (5 การให้คะแนน)

32 รายวิชา

186 ผู้เรียน

เรียน
thThai