0(0)

รายวิชาการป้องกันการทุจริต สค 32036 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักสูตรรายวิชา

โครงสร้างรายวิชา การป้องกันการทุจริต

 มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ

  1. มีความรู้ ความเข้าใจ ดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย กฎ ระเบียบของประเทศต่าง ๆ ในโลก
  2. มีความรู้ ความเข้าใจหลักการพัฒนาชุมชน สังคม สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและเป็นผู้นํา ผู้ตาม ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ปัจจุบัน

ตัวชี้วัด

  1. อธิบายสาเหตุของการทุจริตและทิศทางการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย
  2. อธิบายทฤษฎี ความหมายและรูปแบบของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม (โลก)
  3. อธิบายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
  4. คิด วิเคราะห์กระบวนการ “คิดเป็น”
  5. อธิบายบทบาทของรัฐ/เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน ปราบปรามเกี่ยวกับการทุจริต
  6. สรุปผลกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
  7. สามารถคิด วิเคราะห์ในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
  8. อธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดการทุจริตของประเทศไทย/โลกได้
  9. อธิบายความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตได้
  10. สามารถคิด วิเคราะห์ในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
  11. อธิบายเกี่ยวกับจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  12. อธิบายแบบอย่างความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9)
  13. สามารถคิด วิเคราะห์ในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
  14. อธิบายความหมายและที่มาของคําศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับพลเมือง
  15. อธิบายความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง
  16. อธิบายองค์ประกอบของการศึกษาความเป็นพลเมือง
  17. บอกแนวทางการปฏิบัติตนของการเป็นพลเมืองดีได้
  18. อธิบายแนวทางการสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมือง : กรณีศึกษาประเทศไทย
  19. บอกผลการศึกษาเกี่ย์ในการทํากิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

 

สาระสําคัญ

การป้องกันการทุจริต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการคิดแยกแยะ ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต และพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องดังกล่าวข้างต้น เพื่อร่วมกันป้องกันหรือต่อต้านการทุจริต ไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ในสังคมไทย ร่วมกันสร้างสังคมไทยที่ไม่ทนต่อการทุจริตต่อไป

ขอบข่ายเนื้อหา

บทที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

บทที่ 2 ความละอายและความมไม่ทนต่อการทุจริต

บทที่ 3 STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต

บทที่ 4 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

สื่อประกอบการเรียนรู้

  1. รายวิชาการป้องกันการทุจริต รหัสรายวิชา สค32036
  2. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ จํานวนหน่วยกิต จํานวน 3 หน่วยกิต

กิจกรรมเรียนรู้

  1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน และตรวจสอบแนวคําตอบจากเฉลยท้ายเล่ม
  2. ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนทุกบท
  3. ทํากิจกรรมตามที่กําหนด และตรวจสอบแนวคําตอบจากเฉลยท้ายเล่ม
  4. ทําแบบทดสอบหลังเรียน และตรวจสอบแนวคําตอบจากเฉลยท้ายเล่ม

 

 

สารบัญรายวิชา

17 วิดีโอ

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม?

การที่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องเป็นหลัก ซึ่งเป็นการ กระทําที่ขัดต่อหลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ซึ่งจะนําไปสู่การทุจริตต่อไป หากเจ้าหน้าที่ไม่มีการแยกแยะว่าอะไรคือผลประโยชน์ส่วนตน หรืออะไร เป็นผลประโยชน์ส่วนรวมแล้ว ย่อมจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับผลประโยชน์แน่นอน

บทที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต?

การทุจริตในทุกระดับก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม ประเทศชาติ จําเป็นที่จะต้องแก้ปัญหา ด้วยการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกลอมเกลาทางสังคมทุกช่วงวัย ปฏิบัติตน ตามกฎ กติกาของสังคมในเรื่องต่าง ๆ เช่น การทํางานที่ได้รับมอบหมาย การสอบ การเลือกตั้ง การรวมกลุ่ม เพื่อสร้างสรรค์ป้องกันการทุจริตได้อย่างถูกต้อง

บทที่ 3 STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต

บทที่ 4 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

แบบทดสอบหลังเรียน

เกี่ยวกับผู้สอน

ปริญญาตรี วิทยาลัยครูวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปี พ.ศ. 2528
5.00 (1 การให้คะแนน)

21 รายวิชา

20 ผู้เรียน

เรียน
thThai