0(0)

กศน.ตำบลปากแคว การป้องกันการทุจริต มัธยมศึกษาตอนต้น

หลักสูตรรายวิชา

มาตรฐานการเรียนรู้

1. มีความรู้ ความเข้าใจดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย กฎระเบียบของประเทศเพื่อนบ้าน
2. มีความรู้ ความเข้าใจหลักการพัฒนาชุมชน สังคม สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และกำหนด
แนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์
ปัจจุบัน

สาระสำคัญ

การป้องกันการทุจริต ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการคิดแยกแยะ
ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG :
จิตพอเพียงต้านทุจริต และพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่ผู้เรียน
ในเรื่องดังกล่าวข้างต้น เพื่อร่วมกันป้องกันหรือต่อต้านการทุจริต ไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้นในสังคมไทย ร่วมกันสร้างสังคมไทยที่ไม่ทนต่อการทุจริตต่อไป

สารบัญรายวิชา

7 วิดีโอ

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม?

การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมนั้น มีลักษณะทำนองเดียวกันกับกฎ ศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หลักคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งก็คือ การกระทำใด ๆ ที่เป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรกระทำ แต่ละบุคคล แต่ละกลุ่มแต่ละสังคม อาจเห็นว่าบางเรื่องเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมต่างกันออกไปหรือเมื่อเห็นว่าเป็นการขัดกัน อาจมีระดับของความหนักเบา และเห็นต่างกันว่าเรื่องใดกระทำได้หรือกระทำไม่ได้ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบางเรื่อง บางคนอาจเห็นว่าไม่เป็นไร เป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ต้องถูกประณาม ตำหนิ ติฉินนินทา ว่ากล่าว ฯลฯ แตกต่างกันไปตามสภาพของสังคม

บทที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อความทุจริต

บทที่ 3 STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต

บทที่ 4 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

แบบทดสอบหลังเรียน

เกี่ยวกับผู้สอน

4.42 (24 การให้คะแนน)

83 รายวิชา

431 ผู้เรียน

เรียน
thThai