0(0)

วิชา สค23031 คุณธรรมในการดำเนินชีวิต

หลักสูตรรายวิชา

สาระสำคัญ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คุณธรรมในการดำเนินชีวิต เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่าง ๆ ไปพร้อมกับการสร้างสถานการณ์ในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาโดยให้ผู้เรียนได้ฝึกคุณธรรมในการดำเนินชีวิต และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ทำให้การเรียนรู้ด้วยตนเองประสบความสำเร็จ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรรายวิชาเลือก เรื่อง คุณธรรมพื้นฐานในการดํารงชีวิตซึ่งเป็นสาระวิชาที่จะเป็นประโยชน์สําหรับผู้เรียนในการส่งเสริมคุณค่าและพัฒนาชีวิต ครอบครัว สังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคมนอกจากจะปฏิบัติตามกฏระเบียบและสิทธิและหน้าที่ของตนเองแล้วสมาชิกในสังคมควรดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรมและจริยธรรมด้วย ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละคนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข สังคมก็มีความสงบสุขและเจริญก้าวหน้าไปด้วย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายความหมายของคุณธรรม จริยธรรมได้
  2. เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายความหมายของการดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรม  จริยธรรมได้
  3. เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายความหมายของเบญจศีลและคุณธรรม 9 ประการได้
  4. เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายความหมายของคุณธรรมในการครองเรือนได้
  5. เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายความหมายของทิศ 6 ปัจฉิมทิศได้

ขอบข่ายเนื้อหา

บทที่ 1 ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม 

เรื่องที่ 1 ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม

เรื่องที่ 2 ลักษณะของผู้มีคุณธรรม จริยธรรม

เรื่องที่ 3 ปัญหาและสาเหตุของการขาดคุณธรรม จริยธรรม

เรื่องที่ 4 แนวทางการแก้ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรม

เรื่องที่ 5 ประโยชน์ของคุณธรรม จริยธรรม.

บทที่ 2 การดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรม  จริยธรรม 

เรื่องที่ 1 คุณธรรม จริยธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกัน

เรื่องที่ 2 รูปแบบของการดำเนินชีวิต

เรื่องที่ 3 การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธธรรม

บทที่ 3 เบญจศีลและคุณธรรม 9 ประการ

เรื่องที่ 1 ความหมายความสำคัญของเบญจศีลและคุณธรรม 9 ประการ

เรื่องที่ 2 องค์ประกอบของคุณธรรม 9 ประการ

บทที่ 4 คุณธรรมในการครองเรือน

เรื่องที่ 1 คุณธรรมในการครองเรือน

เรื่องที่ 2 สมชีวิธรรม 4

เรื่องที่ 3 ฆราวาสธรรม 4

 บทที่ 5 ทิศ 6 ปัจฉิมทิศ. 

เรื่องที่ 1 ทิศ 6 ปัจฉิมทิศ.

เรื่องที่ 2 ความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว

เรื่องที่ 3 การสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว

เรื่องที่ 4 การวางแผนเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว

สารบัญรายวิชา

6 วิดีโอ

วิชา สค23031 คุณธรรมในการดำเนินชีวิต

วิชา สค23031 คุณธรรมในการดำเนินชีวิต

แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ ๑ ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม?

สาระสำคัญ คุณธรรม คือ ความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินในการประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ไม่มาก ด้วยกิเลสซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีการที่เราได้รับรู้ถึงลักษณะต่างๆและองค์ประกอบของคุณธรรมแล้วก็จะสามารถปฏิบัติตนไห้เป็นผู้มีคุณธรรมได้อย่างถูกต้อง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   1. ผู้เรียนสามารถบอกความหมายของคุณธรรม จริยธรรมได้ 2. ผู้เรียนสามารถบอกถึงคุณลักษณะของผู้ที่คุณธรรม จริยธรรมได้ 3. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดปัญหาในการดำเนินชีวิต 4. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าในการแก้ปัญหาในการเนินชีวิตและสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้  ขอบข่ายเนื้อหา   เรื่องที่ 1 ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม เรื่องที่ 2 ลักษณะของผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เรื่องที่ 3 ปัญหาและสาเหตุของการขาดคุณธรรม จริยธรรม เรื่องที่ 4 แนวทางการแก้ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรม เรื่องที่ 5 ประโยชน์ของคุณธรรม จริยธรรม

บทที่ ๒ การดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม?

สาระสำคัญ คุณธรรม คือ ความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินในการประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ไม่มาก ด้วยกิเลสซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีการที่เราได้รับรู้ถึงลักษณะต่างๆและองค์ประกอบของคุณธรรมแล้วก็จะสามารถปฏิบัติตนไห้เป็นผู้มีคุณธรรมได้อย่างถูกต้อง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   1. ผู้เรียนสามารถบอกความหมายของคุณธรรม จริยธรรมได้ 2. ผู้เรียนสามารถบอกถึงคุณลักษณะของผู้ที่คุณธรรม จริยธรรมได้ 3. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดปัญหาในการดำเนินชีวิต 4. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าในการแก้ปัญหาในการเนินชีวิตและสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้  ขอบข่ายเนื้อหา   เรื่องที่ 1 ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม เรื่องที่ 2 ลักษณะของผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เรื่องที่ 3 ปัญหาและสาเหตุของการขาดคุณธรรม จริยธรรม เรื่องที่ 4 แนวทางการแก้ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรม เรื่องที่ 5 ประโยชน์ของคุณธรรม จริยธรรม

บทที่ ๓ เบญจศีลและคุณธรรม 9 ประการ?

สาระสำคัญ    เบญจศีล หมายถึง ศีล 5 ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกาย และวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจาก การลักขโมย ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจาก การเสพสุรา เบญจศีลทั้ง 5 ข้อจะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะบุคคล ผู้นั้นมีเบญจธรรมประจำตัว ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   1. ผู้เรียนบอกความหมายของเบญจศีลได้ 2. อธิบายองค์ประกอบของเบญจศีลได้ 3. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาศีล 4. ผู้เรียนอธิบายความหมายคุณธรรม 9 ประการได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ความหมายความสำคัญของเบญจศีลและคุณธรรม 9 ประการ เรื่องที่ 2 องค์ประกอบของคุณธรรม 9 ประการ

บทที่ ๔ คุณธรรมในการครองเรือน?

สาระสำคัญ    การครองเรือน หรือ การใช้ชีวิตสมรส คือ การที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีความพอใจซึ่งกันและกัน ตกลงใจ ที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและมีความสุขร่วมกัน การมาอยู่ร่วมกันของคนสองจะต้อง มีการปรับตัวเข้าหาซึ่งกันและกันแล้ว จำเป็นต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวที่ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ใช้ชีวิตคู่จนแก่เฒ่า ตามสุภาษิตโบราณที่ว่า “ ถือไม้เท้ายอดทอง ตระบองยอดเพชร“ มีหลักคุณธรรมการครองเรือนของ ทั้งสองฝ่ายตามหลักพุทธศาสนา การใช้ธรรมะในการเลือกคู่ครองมีผลที่จะทำให้การใช้ชีวิตคู่ดำเนินไป ได้อย่างราบรื่นและอยู่จนแก่เฒ่า เป็นการเลือกโดยมองเห็นด้วยตา ใช้ธรรมะ สมชีวิธรรม 4  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. ผู้เรียนบอกความหมายคุณธรรมในการครองเรือน 2. อธิบายถึงหลักธรรมของการใช้ชีวิตคู่ได้ 3. ศึกษาหลักธรรมและนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 คุณธรรมในการครองเรือน เรื่องที่ 2 สมชีวิธรรม 4 เรื่องที่ 3 ฆราวาสธรรม 4

บทที่ ๕ ทิศ 6 ปัจฉิมทิศ?

สาระสำคัญ    มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มนุษย์กับสังคมจึงแยกกันไม่ได้ เพราะมนุษย์เกิดมาต้องอาศัยสังคม พึ่งพาอาศัยและมีความสัมพันธ์ต่อกัน มีการจัดระเบียบในการมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีแบบแผน เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและการอยู่รอด และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเองและสังคมเพราะมนุษย์มีแบบแผนในการดำรงชีวิต ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคมไทยได้ 2. อธิบายความต้องการอยู่ร่วมกันของมนุษย์และทำหน้าที่ต่อสังคมได้ 3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดปัญหาในการดำเนินชีวิต 4. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าในการแก้ปัญหาในการเนินชีวิตและสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้  ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 ทิศ 6 ปัจฉิมทิศ. เรื่องที่ 2 ความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว เรื่องที่ 3 การสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว เรื่องที่ 4 การวางแผนเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว

แบบทดสอบหลังเรียน

เกี่ยวกับผู้สอน

จบการศึกษาระดับปริญญาโท วิชาเอกการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จ.สุโขทัย ปี พ.ศ. 2548 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกภาษาอังกฤษ สาขาศิลปศาสตร์บัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2536 จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก
4.88 (8 การให้คะแนน)

31 รายวิชา

81 ผู้เรียน

เรียน
thThai